Database

Import ข้อมูลเข้า Sql Server แบบไม่ง้อคน IT

สอนวิธีการ Import ข้อมูลเข้า Database Sql Server แบบที่ไม่ต้องง้อคน IT มาทำให้ มันง่ายมั๊กๆจิงๆ สิ่งที่ต้องมีก่อน Import ข้อมูลเข้า Database

1. ข้อมูล แน่นอนไม่มีข้อมูลแล้วจะเอาอะไรมาเข้า ต้องเตรียมพร้อมก่อน ข้อมูลที่ดีก็ควรจะไม่ซ้ำกัน หรือควรจะมี Primary Key แล้ว Primary Key คืออะไร? ถ้าตอบง่ายๆก็เป็นกุญแจหลัก ตรงตัวเป๊ะ คือเป็นข้อมูลที่จะไม่ซ้ำกันในไฟล์นี้นั่นเอง เช่น รหัสนักศึกษา รหัสพนักงาน รหัสพวกนี้ไม่มีทางซ้ำกัน เพราะจะทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าเป็นใครแม้ว่าชื่อเค้าจะซ้ำกันนั่นเอง

รหัสนักศึกษา ชื่อนักศึกษา นามสกุล
5615001 นาย กอ กอไก่
5615002 นาย กอ ขอไข่
5615003 นาย ออ ขอไข่

2. Sql Server อันนี้ต้องมีไม่งั้นจะ import เข้าไปยังไงเนอะ ตอนที่กำลังเขียน เค้ามีถึง Version 2014 แล้วแต่ละ Version หน้าตาท่าทางก็ไม่ต่างกันมาก Sql command หรือพวก select insert update delete คำสั่งต่างๆเหมือนเดิมถ้าคนที่ใช้ไม่เป็นก็ลองหาโปรแกรมมา Install แล้วกด Next ไปเรื่อยๆตาม step ของ Microsoft เค้าเน้นง่ายๆอยู่แล้ว ^^ AjpdSoft Administración de Microsoft SQL Server 2008 R2 Express

credit รูป http://www.ajpdsoft.com/modules.php?name=News&file=article&sid=475

3. ชนิดของข้อมูล ควรรู้ไว้สักนิดหน่อย เมื่อเอาข้อมูลเข้าแล้วจะได้ง่ายต่อการไปใช้งาน เอาแบบที่จำเป็นหรือใช้บ่อยๆ ดังนี้        

 varchar(n)  หรือ nvarchar(n)  –> เก็บพวกข้อมูลที่เป็น Text ทั้งหลาย (n) หมายถึงจำนวนตัวอักษรที่ใช้เก็บ 2 ตัวนี้แตกต่างกันเล็กน้อยในเรื่องของการเก็บข้อมูลและ Performance เท่าที่ใช้มามากกว่า 5 ปีไม่ค่อยเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ดังนั้นหากข้อมูลเราไม่ได้เยอะมากเป็นจำนวน 1 ล้านรายการขึ้นไปก็ไม่ต้องกังวลค่ะ ส่วนตัวไม่รู้สึกแตกต่างแต่หากอยากรู้ลึกๆลองถาม Google ได้ มีคนตอบมากมายแต่สำหรับคนไม่รู้ด้าน IT มาก่อน อาจจะ งองูหลายตัวหน่อย ส่วนใหญ่ Primary key นิยมใช้เป็น Type ชนิดนี้แต่ข้อควรระวังก็ไม่ควรกำหนดให้ยาวมากเกินไป เพราะจะมีปัญหาหากต้องการเอาไปสร้าง Foreign key (ไว้จะอธิบายถึง key ตัวนี้อีกครั้งในตอนต่อๆไปค่า)        

int –> เก็บจำนวนเต็ม ค่าอยู่ระหว่าง -2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647 ถือว่าเยอะมากกส่วนใหญ่ก็เก็บค่าที่ไม่มีทศนิยม เช่น ปริมาณสินค้า Quantity เป็นต้น  

float –> เก็บทศนิยม เช่นพวก ต้นทุนสินค้า หรือราคาขายที่เป็นทศนิยม

date –> เก็บวันที่แต่ไม่เก็บเวลา เช่น วันที่ขายสินค้า เป็นต้น

datetime –> เก็บวันและเวลาด้วย เช่น วันที่และเวลาที่ขายสินค้า เป็นต้น จริงๆแล้วจะมีอีกเยอะแยะเลย ถ้าสนใจก็ลองค้นรายละเอียดใน Google กันดูได้ ละเอียดยิบเลย ^^

เอาข้อมูลเข้าทำเป็นคลิปดูตาม Link นี้ได้เลยค่า

https://www.facebook.com/pages/Smart4Programmer/1413582338915798?fref=nf

 

 

 

Leave a comment